เด็กไอทีคลับ คลับซ่าฅนไอที

iTalk | ไอทีทอล์ค => Cyber News Update & Social Media => ข้อความที่เริ่มโดย: Uzumaki Naruto ที่ 2, 02 2011, 04:41:04 PM



หัวข้อ: "จิตวิญญาณที่ขาดหาย" กับการลาตำแหน่ง "ซีอีโอ กูเกิล"
เริ่มหัวข้อโดย: Uzumaki Naruto ที่ 2, 02 2011, 04:41:04 PM
ข่าวการลาป่วยของ "สตีฟ จ็อบส์" ยังไม่ทันจางจากกระแสข่าวโลกธุรกิจ หลังจากนั้นเพียงแค่ 3 วันหลัง ก็มีข่าวสะเทือนวงการธุรกิจโลกอีกครั้ง เมื่อ "เอริค ชมิดท์" ซีอีโอคนปัจจุบันกูเกิล ก้าวลงจากตำแหน่งสูงสุดขององค์กร และส่งไม้ต่อให้กับ "ลาร์รี เพจ" หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมารับช่วงต่อ
 
(http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/02/02/images/news_img_375104_1.jpg)
ลาร์รี เพจ

ชมิดท์ จะขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่ดูแลดีลการทำธุรกิจ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การซื้อขายกิจการต่างๆ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับภาครัฐ แทนการบริหารจัดการงานภายในที่เคยทำ
 
ข่าว นี้ สร้างความประหลาดใจกับผู้ที่อยู่ในแวดวงไอทีเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เอริค ชมิดท์ ได้สร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมต่างๆ ให้กับกูเกิลมากมาย ในระยะเวลา 9 ปี 6 เดือนที่คุมบังเหียนอยู่ ทั้งการแย่งตลาดเสิร์ชเอ็นจิน จนครองบัลลังก์เสิร์ชเอ็นจินอันดับหนึ่งของโลกยาวนานจนถึงปัจจุบัน
 
 นอก จากนี้ กูเกิลภายใต้การบริหารของ ชมิดท์ ยังได้ปฏิวัติธุรกิจโฆษณาออนไลน์ จากเดิมเป็นสื่อโฆษณาอันดับท้ายๆ ที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้ กลายมาเป็นสื่อที่แบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกทุ่มงบโฆษณาลงไปมากที่สุด แซงสื่อสิ่งพิมพ์ ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 รองจากสื่อทีวี
 
กำไรสุทธิที่ กูเกิลทำได้ในแต่ละปี มากกว่า กำไรรวมที่กลุ่มเอเยนซีโฆษณา “Big Four” ของวงการโฆษณาโลก ทำได้รวมกัน (กลุ่ม “Big Four” ประกอบด้วย กลุ่ม InterPublic, Omnicom, Publicis และ WPP ที่มีบริษัทเอเยนซีโฆษณารวมกันมากกว่าหนึ่งพันบริษัท)
 
และเมื่อนับ รวม จำนวนพนักงานทั้งหมดของ “Big Four” ที่มีอยู่ประมาณ 293,000 คนทั่วโลก และพนักงานกูเกิลทั่วโลกกว่า 24,400 คน จะพบว่า กูเกิลใช้พนักงานน้อยกว่าถึง 12 เท่า และยังให้ผลกำไรตอบแทนเป็นตัวเงินสูงกว่ากลุ่มบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ถึง 2.6 เท่า
 
นี่คือ ความมหัศจรรย์ของระบบโฆษณาออนไลน์ที่กูเกิลสร้างขึ้น
 
จากบริษัท Startup เล็กๆ กระทั่งกลายเป็นบริษัทติดอันดับ 1 ใน 50 ของบริษัทที่มีกำไรสูงสุดในโลกของปี 2010 ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในยุคการบริหารงานของ ชมิดท์ สิ่งที่เป็นคำถามในใจของหลายๆ คน  คือ เมื่อกูเกิลมีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม เหตุใด ชมิดท์ ถึงต้องอำลาจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดขององค์กร
 
ปัญหานี้ เป็นเรื่องของการบริหารจัดการภายในล้วนๆ ครับ
 
(http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/02/02/images/news_img_375104_2.jpg)
เอริค ชมิดท์

การเติบโตอย่างรวดเร็วของกูเกิล ทำให้องค์กรเริ่มที่จะ “ใหญ่เกินไป” ชมิดท์ก็ตระหนักจุดนี้
 
ข้อ เสียขององค์กรที่ใหญ่เกินไป มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลำดับขั้นตอนตัดสินใจต่างๆ จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น จะทำอะไรแต่ละครั้ง เรื่องต้องถูกอนุมัติจากผู้บริหารหลายระดับ ทำให้เกิดความล่าช้า ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการความเร็ว เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้
 
ความรวดเร็วในการตัดสินใจ (Decision-making Speed) จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
 
ผม เชื่อว่า ลาร์รี เพจ ซีอีโอคนใหม่ จะต้องมีการผ่าตัด เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารองค์กรให้กระชับขึ้น และมอบอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจบางเรื่องที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้
 
ข้อเสียที่สำคัญอีกข้อขององค์กรที่มีขนาดใหญ่เกินไป คือ การสูญเสีย “จิตวิญญาณ” และความมุ่งมั่นที่เคยมี เมื่อครั้งองค์กรยังแบเบาะ
 
พนักงาน ใน “บริษัทเกิดใหม่" (Start-up Company) จะมีวิธีคิดที่แตกต่างกับพนักงานในองค์กรใหญ่ๆ คือ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่น และความทะเยอทะยานที่จะเอาชนะ ต้องสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างความยิ่งใหญ่ และมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของธุรกิจ
 
"ลาร์รี เพจ" ต้องการเปลี่ยนกูเกิล ให้มีจิตวิญญาณแบบ “บริษัทเกิดใหม่” อีกครั้ง
 
เมื่อ มองไปยังธุรกิจที่กูเกิลให้ความสำคัญและเป็นทิศทางของบริษัท ทั้งธุรกิจโฆษณาออนไลน์บนเว็บ โฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต ธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ล้วนมีแต่เสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ยักษ์ใหญ่อยู่ในสนามแข่งขันทั้งนั้น
 
โฆษณาออนไลน์บน เว็บก็มี เฟซบุ๊ค ที่เพิ่งแย่งตำแหน่งแชมป์เว็บไซต์ที่คนเข้าเยี่ยมชมนานที่สุดในโลกไป และยังมีไมโครซอฟท์กับยาฮู คอยขี่จักรยานตามหลังมาห่างๆ โฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ แอ๊ปเปิ้ลก็ส่ง “iAd” เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากกูเกิลไปถึง 21% ในระยะเวลาแค่ปีเดียว
 
ธุรกิจ สมาร์ทโฟนละแทบเล็ต ที่ต้องเจอศึกหนักกับเจ้าตลาดอย่างแอ๊ปเปิ้ล ผู้กำเนิดไอโฟน และรีเสิร์ชอินโมชั่น (RIM) ผู้ผลิตแบล็คเบอร์รี ทั้งในเรื่องจำนวนยอดขายเครื่อง และจำนวนแอพ ธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ยังต้องมาเจอกับแอ๊ปเปิ้ลทีวี ที่มาพร้อมกับคอนเทนท์มหาศาลบนไอจูนส์สโตร์
 
เห็น แค่รายชื่อคู่แข่งในแต่ละธุรกิจ ทั้ง เฟซบุ๊ค ไมโครซอฟท์ แอ๊ปเปิ้ล ก็เริ่มร้อนๆ หนาวๆ แทนกูเกิล โดยเฉพาะการที่ต้องมาเจอกับแอ๊ปเปิ้ล ในช่วงท็อปฟอร์มสุดๆ
 
งานใหม่ของเอริค ชมิดท์ น่าจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งและลบจุดอ่อนให้กับกูเกิลมากพอสมควร
 
แต่ ที่ร้อนๆ หนาวๆ กว่า น่าจะเป็นฝั่งไมโครซอฟท์ เพราะขาดทั้ง “จิตวิญญาณของบริษัทเกิดใหม่” ด้วยอายุบริษัทที่ยาวนานกว่า 36 ปี ขนาดองค์กรก็ใหญ่โตอุ้ยอ้าย มีพนักงานกว่า 90,000 คน อีกทั้ง 4 ธุรกิจหลักที่กูเกิลโฟกัส ก็เป็นอนาคตของไมโครซอฟท์เช่นกัน แต่ก็ยังอยู่ในสถานะคู่แข่งนอกสายตาทั้งสิ้น
 
ไล่ๆ ดูแล้ว ทั้งแอ๊ปเปิ้ลและกูเกิล ก็เปลี่ยนแปลงซีอีโอแล้ว ส่วนเฟซบุ๊คก็มี “จิตวิญญาณของบริษัทเกิดใหม่ อย่างเต็มเปี่ยมอีกทั้งขนาดขององค์กรก็เหมาะสม
 
เหลือ แต่ไมโครซอฟท์ล่ะครับที่ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่แน่ว่าอนาคตอีกไม่นาน ผมอาจจะต้องกลับมาเขียนถึง “สตีฟ บัลเมอร์” อีกคน ก็เป็นได้

ข้อมูลจาก: กรุงเทพธุรกิจ (https://www.dekitclub.com/go/http://www.bangkokbiznews.com) link
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: Broadband Internet (https://www.dekitclub.com/go/http://internet.laptopprice.org/) link Laptop (https://www.dekitclub.com/go/http://www.laptopprice.org/) link Software (https://www.dekitclub.com/go/http://software.laptopprice.org/) link Video Game (https://www.dekitclub.com/go/http://videogame.laptopprice.org/) link Thailand Hotels (https://www.dekitclub.com/go/http://www.thailandhotelsplus.com/) link