กรุณาปิด AdBlock!

Cancel your adBlock please.

ขยายหน้าเว็บRegister Login
 โฆษณา
หน้า: [1]  ลงล่าง
  พิมพ์  
topic

ม.กรุงเทพ ดึงไมโครซอฟท์ ช่วยดันสู่ 'e-university'  (อ่าน 2888 ครั้ง)

ไอที
« เมื่อ: 18, 05 2011, 10:19:41 PM »
มหาวิทยาลัยกรุงเทพเสริมระบบไอทีด้วยเทคโนโลยี Business Intelligence ของไมโครซอฟท์ ภายใต้แผนโรดแมป 5 ปีสู่การเป็น e-university ชั้นนำ
      


      ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมจิตต์ ลิขิตถาวร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพให้ความสำคัญกับการนำไอทีเข้ามาเสริมประสิทธิภาพการบริหารงาน และการให้บริการด้านการเรียนการสอนมาเป็นเวลานาน
      
      ที่ผ่านมาได้มีการนำไอทีเข้ามาเป็นปัจจัยพื้นฐานให้อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรใช้งานทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้าน e-university ในระดับประเทศและเอเชียแปซิฟิก และด้วยเทคโนโลยีล่าสุด Microsoft® SQL Server 2008 R2 ช่วยให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถจัดการกับข้อมูลมหาศาลและเชื่อมโยงการทำงานของระบบไอทีที่ดีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
      
      โดยมีหัวใจหลักในการดำเนินงาน และการให้บริการด้านการเรียนการสอนคือ ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เน้นระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยและเป็นสากล อีกทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานใน 2 ส่วนหลักคือ ด้านการเรียนการสอนและการวิจัย และด้านการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาให้มีการใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั่วทั้งมหาวิทยาลัยในทุกด้าน หรือที่เรียกว่า e-university อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ไม่เพียงแต่ในระดับประเทศเท่านั้น แต่รวมไปถึงระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้วย
      
      "จุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพตัดสินใจนำเทคโนโลยีไมโครซอฟท์เข้ามาเสริมประสิทธิภาพระบบไอทีที่ใช้อยู่เดิม ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำรายงานที่มหาวิทยาลัยฯ พัฒนาขึ้นเองและใช้อยู่เดิม ให้สามารถวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลในด้านต่างๆ ให้ออกมาเป็นรายงานที่เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพ"
      
      เทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2552 ได้แก่ระบบ Microsoft Active Directory Domain Controller เพื่อใช้บริหารจัดการชื่อบัญชีผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ภายในมหาวิทยาลัย ระบบ Enterprise Content Management and Collaboration ที่ได้นำเอา Microsoft SharePoint มาใช้เป็นเว็บพอร์ทัล เพื่อการเข้าถึงระบบงานของมหาวิทยาลัยทั้งหมด การทำงานติดต่อสื่อสารกันเป็นทีม ระบบอีเมล โดยใช้ Microsoft Exchange Server ซึ่งง่ายต่อการบริหารจัดการระบบร่วมกับ Active Directory และอินเทอร์เฟซที่ง่ายต่อการใช้งาน
      
      ในปี 2553 มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ขยายการพัฒนาระบบไอทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยการนำ Microsoft SQL Server 2008 R2, Microsoft SharePoint Server 2010 และ Microsoft Exchange Server 2010 มาใช้ร่วมกันในรูปแบบ Business Intelligence โดยนำไปใช้ในการดูแลนักศึกษาที่กำลังมีปัญหาด้านการเรียนเป็นกรณีพิเศษ
      
      โดยโปรแกรมที่สร้างขึ้นมานี้จะช่วยให้อาจารย์สามารถดูรายชื่อนักศึกษาที่ยัง on probation อยู่ได้ อีกทั้งยังสามารถลงลึกในรายละเอียดของคะแนนและเกรดแต่ละวิชา เพื่อการตัดสินใจมอบหมายงานเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มเกรดได้ ซึ่งในรายงานรูปแบบเดิมก็สามารถทำได้แต่ไม่สามารถลงลึกในรายละเอียดได้มากเท่ากับเทคโนโลยีไมโครซอฟท์ซึ่งข้อมูลมีความสมบูรณ์แบบมากกว่า
      
      ความท้าทายประการหนึ่งของการปรับระบบไอทีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็คือ การปรับแอพพลิเคชันและโปรแกรมต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2538 รวมถึงระบบ URSA ที่ให้นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยฯ สามารถใช้บริการ e-service ผ่านเว็บพอร์ทัลได้ ซึ่งต้องทำการทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันต่างๆ ทำงานและเชื่อมโยงกันได้ดีกับระบบไอทีใหม่ โดยแอปพลิเคชันเดิมของมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็ได้ถูกทยอยทำการพัฒนาใหม่โดยใช้เทคโนโลยีไมโครซอฟท์ ให้สามารถใช้งานในรูปแบบ Business Intelligence ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
      
      นางสาวปัญจพร วิทยเลิศพันธุ ์ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์เซิร์ฟเวอร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร ในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลมีปริมาณมหาศาล โดย Microsoft SQL Server 2008 R2 คือผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับใช้ในการจัดการ การเข้าถึงข้อมูล และการส่งผ่านข้อมูล เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในระดับองค์กร มาพร้อมกับความสามารถในการใช้งานระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) แบบ self-service ที่สามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องลงทุนในระบบไอทีใหม่ทั้งหมด
      
      ซึ่งหลังจากที่ผู้บริหารและอาจารย์ได้ทดลองใช้งาน ผลตอบรับก็คือสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบไอทีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายเชิงรุกและเชิงรับ การจัดการเรียนการสอน การดูแลการเรียนของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารและอาจารย์สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และทำรายงานออกมาโดยอัตโนมัติ และเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งหน้าตาได้ตามความต้องการด้านการใช้งาน ดูรายงานในเชิงลึกได้มากขึ้น และในมุมมองของข้อมูลที่ไม่สามารถดูได้มาก่อน สุดท้ายคือมีการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะด้านบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำนวนคนและเวลาที่ใช้ในการทำงานลดลง จากเดิมที่เคยใช้เวลาเป็นวัน เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง
      
      ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพื่อทำตามแผนพัฒนาไอที 5 ปีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลังจากเสร็จสิ้นการนำระบบไอทีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับนักศึกษาแล้ว ในปี 2554 มหาวิทยาลัยกรุงเทพก็ได้วางแผนที่จะนำระบบไอทีใหม่มาใช้ในด้านการวางแผนหลักสูตร บุคลากร การเงิน และอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะให้นักศึกษาสามารถดูตารางการเรียนการสอนจากมือถือได้เลย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในอนาคตอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป

ข้อมูลจาก: ARIP link
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: Casual Watch link Laptop link Thai Talk link วลัยลักษณ์ link ที่พักพัทยา link
Uzumaki Naruto
ยามเฝ้าบอร์ด
เด็กไอทีคลับจอมเก๋า
*
พลังความคิด 16
กระทู้: 1,313
เว็บไซต์
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]  ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: