กรุณาปิด AdBlock!

Cancel your adBlock please.

ขยายหน้าเว็บRegister Login
 โฆษณา
หน้า: [1]  ลงล่าง
  พิมพ์  
topic

ห้องเรียนเฟซบุ๊ค ปั้นเศรษฐีนักสร้างแอพฯ  (อ่าน 2963 ครั้ง)

ไอที
« เมื่อ: 14, 05 2011, 10:12:32 PM »
การบ้านของชั้นเรียนหนึ่ง ในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อปลายปี 2550 ที่อาจารย์สั่งให้นักศึกษากลับไปคิดค้นแอพพลิเคชั่นใหม่ ที่คนอยากใช้



นอกจากจะทำให้ชั้นเรียนดังกล่าว กลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วมหาวิทยาลัยในชื่อ "ชั้นเรียนเฟซบุ๊ค" และนักท่องเว็บหลายล้านคน ได้โปรแกรมประยุกต์มาใช้แบบไม่ต้องเสียเงินแล้ว ยังทำให้นักศึกษาบางคนสามารถทำเงินได้มากกว่าอาจารย์ของตัวเองเสียอีก
 
ในเวลาที่แทบจะเรียกได้ว่าเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น ชั้นเรียนเฟซบุ๊คได้มอบทั้งหน้าที่การงาน และเม็ดเงินจำนวนมากให้กับนักศึกษา และอาจารย์ มากกว่า 20 คนในมหาวิทยาลัยนี้ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการบุกเบิกสร้างเจ้าของกิจการใหม่รูปแบบใหม่
 
โจอาคิม เดอ ลอมแบร์ท วัย 23 ปี เล่าถึงความหลังว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยแอพที่กลุ่มของเขาคิดค้นขึ้นมา ทำเงินได้ถึงวันละ 3,000 ดอลลาร์ จนทำให้เกิดบริษัท ที่ภายหลังสามารถขายกิจการออกไปด้วยเงิน 6 หลัก ขึ้นมา
 
"ผมแทบไม่รู้เลยว่า ทั้งหมดนั่นมีความหมายว่าอย่างไร" เดอ ลอมแบร์ท ระบุ
 
ความรู้สึกของเดอ ลอมแบร์ท ก็ไม่แตกต่างอะไรกับเพื่อนนักศึกษาจำนวนมากในชั้นเรียนของเขา เพราะในสมัยนั้นแอพสำหรับใช้งานบนเฟซบุ๊ค ยังเป็นเรื่องใหม่มาก สมาร์ทโฟนยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊ค ก็เพิ่งออกวางตลาดได้ไม่นาน และโทรศัพท์มือถือเครื่องแรก ที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ก็ยังไม่ถือกำเนิดขึ้น จนอีก 1 ปีต่อมา
 
อย่างไรก็ดี การสอนให้นักศึกษาสร้างแอพ ที่สามารถใช้งานได้โดยตรง นำออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และค่อยมาคิดพัฒนาให้สมบูรณ์ในภายหลังนั้น ทำให้ชั้นเรียนเฟซบุ๊ค สร้างขั้นตอนที่กลายมาเป็นกระบวนการปฏิบัติงานมาตรฐานสำหรับนักลงทุน และเจ้าของกิจการรุ่นใหม่แห่งซิลิคอน วัลเลย์ และที่อื่นๆ  ทั้งยังทำให้กระบวนการในการนำแนวคิด มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริษัท รวดเร็วขึ้นด้วย
 
ครั้งหนึ่ง การจะตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่สักแห่งหนึ่งจำเป็นต้องใช้ทั้งเงิน เวลา และผู้คนจำนวนมาก แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาซอฟต์แวร์แบบเปิด ที่ไม่ต้องเสียเงิน รวมถึง บริการ "คลาวด์" ทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านนี้ลดลง และเครือข่ายโฆษณาก็ช่วยทำให้รายได้หลั่งไหลเข้าสู่บริษัทอย่างรวดเร็ว
 
ปรากฏการณ์แอพที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ เน้นให้เห็นถึงแนวโน้มดังกล่าว และยังมีส่วนช่วยปลดปล่อยเสียงเรียกร้องถึงกระแสนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ การเคลื่อนไหวที่บางฝ่ายมองว่า เป็นฟองสบู่
 
ในช่วงแรกนั้น ชั้นเรียนเฟซบุ๊ค เป็นเหมือนกับซิลิคอนวัลเลย์แบบย่อส่วน โดยการทำงานเป็นกลุ่มละ 3 คนนั้น ทำให้นักศึกษา 75 คน สร้างสรรค์แอพต่างๆ  ที่มีผู้สนใจใช้งานรวมแล้วถึง 16 ล้านคน ภายในเวลาเพียง 10 สัปดาห์ แม้ว่าแอพส่วนใหญ่จะไม่ได้มีสาระอะไรเลยก็ตาม ตัวอย่างเช่น แอพของกลุ่มเดอ ลอมแบร์ท ที่เปิดทางให้ผู้ใช้ สามารถส่งจุดต่างๆ ที่ได้รับความนิยมไปให้กับเพื่อนในเฟซบุ๊ค
 
กระนั้นก็ตาม แม้การบ้านดังกล่าว จะตั้งอยู่บนเงื่อนไขของการให้บริการแบบไม่ต้องเสียเงิน แต่แอพเหล่านี้ ก็สร้างรายได้ด้านโฆษณาเกือบ 1 ล้านดอลลาร์
 
ความสำเร็จดังกล่าว กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับเจ้าของกิจการหลายราย ปรับแผนธุรกิจใหม่ โดยหันมามุ่งทางแอพแทน แม้จะไม่ประสบความสำเร็จทุกราย แต่การเคลื่อนไหวนี้ก็มีส่วนช่วยในการขยายจำนวนผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ค ที่ปัจจุบันมีสมาชิกเกือบ 700 ล้านคนแล้ว
 
กลุ่มนักลงทุนด้านเงินทุน ก็เริ่มปรับแนวคิดของตัวเองในด้านนี้แล้ว โดยมีนักลงทุนบางราย ที่ตัดสินใจจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนแห่งใหม่ขึ้นมา เพื่อติดตามเข้าลงทุนในบริษัทเกิดใหม่ประเภทข้างต้น
 
"ความคิด และความเห็นจำนวนมากที่ออกมาจากชั้นเรียน สร้างอิทธิพลต่อโครงสร้างของเงินทุนที่ผมกำลังทำงานอยู่ในขณะนี้ โดยชั้นเรียนนี้ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความจริงว่า ผลงานที่ออกมาสามารถใช้งานได้จริงๆ " เดฟ แมคเคลอร์ อาจารย์คนหนึ่งของชั้นเรียนดังกล่าว และผู้ก่อตั้ง 500 สตาร์ท อัพ บริษัทที่เข้าลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ที่ไร้เงินทุน กล่าว
 
ช่วงเวลาเกือบ 4 ปีต่อมา นักศึกษาจำนวนมากได้เรียนรู้ว่า การสร้างธุรกิจเป็นเรื่องที่ยากกว่า การคิดค้นแอพ อย่างมาก ต่อให้แอพตัวนั้นได้รับคะแนน เอบวกก็ตาม ซึ่งเอ็ดเวิร์ด เบเกอร์ หุ้นส่วนของเดอ ลอมบาร์ท ทั้งในชั้นเรียน และในธุรกิจ ที่ทั้งคู่ตั้งบริษัท เฟรนด์ ดอท แอลวาย ขึ้นมา ยืนยันว่า การตั้งบริษัทมีงานให้ทำกว่าการคิดค้นแอพมากมาย
 
กระนั้นก็ตาม นักศึกษาจากชั้นเรียนนี้ สามารถสร้างความร่ำรวยให้กับตัวเองได้อย่างมากมาย บางคนเปลี่ยนการบ้านของตัวเองให้กลายมาเป็นบริษัท ซึ่งในจำนวนนี้ได้ขายต่อกิจการให้กับบริษัทแถวหน้าของวงการ อย่าง ซิงกา ขณะที่มีนักศึกษาอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ที่ได้ร่วมงานกับบริษัทเกิดใหม่ดาวรุ่ง อย่าง ร็อคยู ผู้ให้บริการเว็บไซต์เกม ที่ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นหนึ่งในบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างมากกับแอพที่ให้บริการบนเฟซบุ๊ค
 
ในส่วนของเฟซบุ๊คนั้น บริษัทไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ กับชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดนี้แต่อย่างใด แม้วิศวกรบางคนจะเข้าร่วมในชั้นเรียน และได้รับประโยชน์จากความสำเร็จในแอพของนักศึกษาไปด้วย
 
เดวิด เฟตเตอร์แมน วิศวกรเฟซบุ๊ค ผู้ช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มแอพ กล่าวถึงการเข้าร่วมชั้นเรียนนี้ว่า ให้ความรู้สึกเหมือนกับการมีส่วนร่วมในการฟักไข่ให้ออกมาเป็นตัว

ข้อมูลจาก: กรุงเทพธุรกิจ link
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: Casual Watch link Laptop link Thai Talk link วลัยลักษณ์ link ที่พักพัทยา link
Uzumaki Naruto
ยามเฝ้าบอร์ด
เด็กไอทีคลับจอมเก๋า
*
พลังความคิด 16
กระทู้: 1,313
เว็บไซต์
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]  ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: