กรุณาปิด AdBlock!

Cancel your adBlock please.

ขยายหน้าเว็บRegister Login
 โฆษณา
หน้า: [1]  ลงล่าง
  พิมพ์  
topic

อาฟเตอร์ช็อก “พ.ร.บ.คอมพ์” (เวอร์ชั่นอัพเกรด)  (อ่าน 3649 ครั้ง)

ไอที
« เมื่อ: 17, 05 2011, 10:30:34 PM »
ปรากฏการณ์นี้นำมาสู่คำถามแห่งยุคสมัยและปัญหาสำหรับหน่วยงานรัฐในระดับ “วาระแห่งชาติ” ที่ส่งผลให้ผู้คนในสังคมตื่นตัวกันได้แบบปัจจุบันทันด่วน จริงอยู่ว่า ความพยายามที่จะผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.คอมพ์ ฉบับใหม่ออกมาใช้แทนฉบับเดิมของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มีนัยในแง่ของเจตนารมณ์ที่ไม่ได้มุ่งร้าย แต่ต้องการเปลี่ยนให้เกิดภาพเชิงบวกสู่สังคม



หากมุมกลับกัน ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะมองแบบผิวเผินหรือลึกซึ้ง ปรากฏการณ์นี้นำมาสู่คำถามแห่งยุคสมัยและปัญหาสำหรับหน่วยงานรัฐในระดับ “วาระแห่งชาติ” ที่ส่งผลให้ผู้คนในสังคมตื่นตัวกันได้แบบปัจจุบันทันด่วน

“กรุงเทพไอที” รวบรวมเสียงสะท้อนของบุคคลแขนงต่างๆ ในสภาพบรรยากาศที่เหมือนจะสงบนิ่ง แต่ภายในซ่อนความแปรปรวนรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด ท่ามกลางคำถามคาใจที่ไม่มีใครฟันธงได้ชัดเจนว่าในทางปฏิบัติผู้ที่เกี่ยวข้องได้ “ลงมือ” แก้ไขปัญหาเท่าที่กระแสสังคมส่งออกมาหรือไม่ ภาครัฐจะมีท่าทีและความเห็นเช่นไร และจะต้องใช้เวลาอีกกี่รัฐบาลถึงจะมีฉากจบที่ไม่ต้องสวยหรู (มาก) แต่ว่า “ลงตัว” ออกมาสักที

อยู่นอกเจตนารมณ์

นางสาวสาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ว่า มีประเด็นน่าสนใจ 3 เรื่อง คือ หนึ่ง ความบกพร่องและไม่ชัดเจนของกฎหมายฉบับเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งการพิจารณาความผิดยังคงอยู่ในดุลยพินิจของเจ้าพนักงานเป็นหลัก

ประเด็นต่อมา เรื่องการบัญญัติถ้อย เช่น คำว่า "ผู้ดูแลระบบ" ทำให้มีผู้ต้องได้รับโทษเพิ่มมากขึ้น ถ้อยคำที่ใช้ค่อนข้างกว้างมากจนอาจทำให้คนที่ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงแต่ดูแลพื้นที่นั้นๆ ต้องรับโทษไปด้วย ประกอบกับมาตรา 16 ที่เพิ่มมาว่า ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ แค่แบ็คอัพข้อมูลก็มีโอกาสกระทำความผิดได้แม้ไม่ได้ตั้งใจเผยแพร่ต่อก็ตาม

"เข้าใจว่าเบื้องหลังมาจากการล็อบบี้ยิสต์ของบริษัทที่ได้รับเสียหายจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา"

ประเด็นที่สาม เพิ่มบทบาทกลุ่มบุคคลฝ่ายรัฐเข้ามาควบคุมดูแลจำนวน 11 คน หากมองไปที่องค์ประกอบและที่มา 8 คนมาจากหน่วยงานภาครัฐ ที่เหลืออีก 3 คนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี ทำให้รู้สึกว่าไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับประชาชนจริงๆ มีการควบคุมด้านพฤติกรรม เสรีภาพ ขณะเดียวกันร่างฉบับล่าสุดซึ่งได้ยินมาว่าจะเพิ่มเป็น 22 คนสัดส่วนก็ยังมาจากภาครัฐแทบทั้งหมดอยู่ดี

ทั้งนี้ ในแง่อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานมีข้อหนึ่งเขียนทำนองว่าให้การกระทำใดๆ เพื่อเป็นไปตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ และฉบับอื่น ทำให้เกิดคำถามคือ สุดท้ายเจ้าหน้าที่มีอำนาจกว้างขวางขนาดไหน  เกินไปกว่าเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้หรือไม่

ต้องจับตามองเป็นพิเศษ

เธอแนะว่า ทางแก้ควรกลับไปดูตั้งแต่ที่รัฐธรรมนูญ ใช้กระบวนการภาคประชาชนพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน หากทำให้เป็นประเด็นสาธารณะและกดดันรัฐบาลขึ้นมาได้ก็อาจพอช่วยได้บ้าง

"มองลึกลงไปอีก ในวาระซ่อนเร้นเป็นเรื่องของการพยายามควบคุมเสรีภาพ และการแสดงออกเกี่ยวกับความเห็นที่แตกต่าง และอุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความผิดที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 เรื่องหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ จะให้ตีความเป็นเรื่องอื่นคงไม่ได้"

นางสาวสาวตรี กล่าวด้วยว่า มีหลายฝ่ายพูดกันมานานแล้วว่า พ.ร.บ.คอมพ์ มีปัญหาแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง อยู่ๆ เหมือนไม่มีที่มาที่ไปพออินเทอร์เน็ตเริ่มมีอิทธิพล ก็มีความพยายามแก้ไขผลักดันให้เข้าไปในครม.ฉะนั้นต้องตั้งคำถามว่าชอบธรรมหรือไม่หากจะแก้ไข และต้องจับตามองดูเป็นพิเศษ

พร้อมระบุว่า ประเด็นเหล่านี้ถ้าปล่อยให้ผ่านออกไปได้จะเกิดปัญหาขึ้นทันที ทางกฎหมายถือว่าเป็นการข้ามขั้นตอน หากจะทำต้องจริงๆ ต้องคำนึงถึงกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกันด้วย

สิทธิมนุษยชนถูกมองข้าม

นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวยึดหลักความมั่นคงเหนือสิทธิเสรีภาพ การแสดงออกของประชาชน ปัญหาด้านการตีความที่อยู่ในฉบับปี 2550 ก็ยังมีอยู่ ขณะเดียวกันเรื่องของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาใหม่ที่ส่วนใหญ่มาจากฝ่ายความมั่นคง มุมมองแบบนี้ถือว่าสุดโต่ง และมองข้ามหลักสิทธิมนุษยชนไป

"กฎหมายฉบับใดที่มีความเกี่ยวพันกับคนหมู่มาก ต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้ชัดเจนทั้งด้านเนื้อหา และเจตนารมณ์"

เขากล่าวว่า สังคมไทยกำลังอยู่ภายใต้บรรยากาศถูกครอบงำ ถูกแทรกแซงด้วยอำนาจ มองในแง่ร้ายคือรัฐพยายามใช้กฎหมายลิดรอนสิทธิ์และเสรีภาพของประชาชน ฉะนั้นฝ่ายบริหารควรทบทวนบทบาทของตัวเองในประเด็นของการออกกฎหมาย กระบวนการทางรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภา และรัฐบาลต้องมีแสดงท่าทีมากกว่านี้ เพื่อแสดงเจตจำนงในหลักการและวิธีการเพื่อความชัดเจน และโปร่งใส

"เรื่องนี้เป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญว่า ประเทศไทยมีสิทธิเสรีภาพการแสดงออกมากเพียงใด หากต้องการให้ประเทศเป็นอารยประเทศ เราต้องมองให้ลึกไปถึงเรื่องความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เรื่องสี ซึ่งเกี่ยวโยงกับความอ่อนไหว ที่อาจนำพาไปสู่ความขัดแย้ง และกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม"
 
เกิน 1 มาตรฐานเรื่องตลก

นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างคู่ขนานว่า ขณะนี้ได้รวบรวมความเห็นจากทางทีมงานและอินเทอร์เน็ตมาแล้วจำนวนหนึ่งแล้ว และกำลังรวบรวมเพิ่มเติมทางช่องทางออนไลน์ จากบล็อค ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค เท่าที่ประเมินดูกลุ่มคนที่สนใจมาจากนักศึกษามหาวิทยาลัย โปรแกรมเมอร์ และผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทุกประเภท

นอกจากนี้เดือนหน้าจะทำกิจกรรมแบบออฟไลน์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งระดมนักกฎหมายที่สนใจให้เข้ามาช่วยกัน

เขากล่าวว่า เบื้องต้นคนกลุ่มใหญ่กังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องรับผิดชอบโดยที่ตัวเองอาจไม่ได้กระทำความผิด บางคนถึงกับรอดูท่าทีว่าถ้าทำอาชีพเดิมต่อไปจะคุ้มกับความเสี่ยงหรือไม่ และหากต้องเสียงมากๆ ก็จะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นแทนไปเลย ประเด็นที่ฮอตที่สุดคือเรื่องการคัดลอก และโหลดบิต

"กรอบของแนวทางที่คุยกันไว้คร่าวๆ คือ พยายามทำให้ขอบเขตของกฎหมายอยู่ในรูปแบบของการคุ้มครองสิทธิ มากกว่าการปราบปราม หากเป็นไปได้ ใจอยากให้เป็นการควบคุมกันเองมากกว่า ด้านของเนื้อหาถ้าต้องให้รัฐมาควบคุมว่าอะไรที่ทำได้ อะไรทำไม่ได้คงไม่มีใครยอมรับได้แน่นอน"

เขาชี้ว่า พ.ร.บ.คอมพ์ไม่ควรมีสิทธิพิเศษเหนือไปกว่ากฎหมายฉบับอื่นๆ ถ้ามีก็เท่ากับว่าได้ตั้งกฎหมายอีกหนึ่งมาตรฐานออกมา ซึ่งดูแล้วมันตลก

พร้อมประเมินด้วยว่า ระยะเวลา 5 ปี ที่มีการคาดการณ์ไว้ อาจทำได้เร็วกว่านั้น เนื่องจากหลายภาคส่วนเริ่มตื่นตัวและมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่าควรเร่งหาทางออก และแนวทางให้เร็วที่สุด

ข้อมูลจาก: กรุงเทพธุรกิจ link
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: Casual Watch link Laptop link Thai Talk link วลัยลักษณ์ link ที่พักพัทยา link
Uzumaki Naruto
ยามเฝ้าบอร์ด
เด็กไอทีคลับจอมเก๋า
*
พลังความคิด 16
กระทู้: 1,313
เว็บไซต์
บันทึกการเข้า

ไอที
« ตอบ #1 เมื่อ: 19, 05 2011, 02:20:30 PM »
ต้องรื้อมาแก้กันอีกเยอะนะผมว่า
เด็กไอทีคลับ
เด็กไอทีตัวพ่อ
เด็กไอทีคลับชั้นเซียน
*
พลังความคิด 89
กระทู้: 3,536
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]  ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: