กรุณาปิด AdBlock!

Cancel your adBlock please.

ขยายหน้าเว็บRegister Login
 โฆษณา
หน้า: [1]  ลงล่าง
  พิมพ์  
topic

ปวดศีรษะและสุขภาพฟัน  (อ่าน 3314 ครั้ง)

ไอที
« เมื่อ: 5, 03 2010, 03:27:29 PM »


 อาการปวดศีรษะเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและถูกค้นคว้าวิจัยอย่างมากในวงการแพทย์ที่พยายามแยก และหาสาเหตุอาการปวดหรือต้นตอให้ชัดเจน คนที่มีอาการปวดจะทุกข์ทรมานเพราะความสลับซับซ้อนของสาเหตุทำให้การรักษาเป็นไปตามอาการมากกว่าด้วยการใช้ยาระงับปวดเป็นหลัก เหมือนกับการยิงปืนเฉียดๆ เข้าไม่ถูกเป้าชัดๆ สักที
จากสถิติของ America Academy of Craniofacial Pain บอกว่า 1/8 ของคนอเมริกาทนทุกข์กับการปวดศีรษะ และประมาณ 80% ของการปวดศีรษะมาจาก การตึงตัวของกล้ามเนื้อ แล้วก็มันเป็นผลพวงของ การสบฟันผิดปกติ ไม่น่าเชื่อว่าการปวดศีรษะ ปวดใบหน้ามีเรื่องฟัน เรื่องการบดเคี้ยวเข้าไปเกี่ยวข้องเสียส่วนใหญ่ และเป็นที่ยอมรับแล้วว่าฟัน ข้อต่อกรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยว กล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อบริเวณไหล่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีส่วนชักนำทำให้ปวดศีรษะได้ ดูเหมือนว่ามันสลับซับซ้อนจนเข้าใจยากทีเดียว
      การสบฟันที่ผิดปกติจะทำให้ปวดศีรษะได้อย่างไร?
       ในใบหน้าของเรามีกล้ามเนื้อมากมายหลายชิ้นที่ทำหน้าที่ยกขยับขากรรไกร มีกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อไหล่ คอยพยุงศีรษะ(กะโหลกไว้) กล้ามเนื้อเหล่านี้ ถ้าอยู่ระยะพักในภาวะสมดุลจะไม่มีปัญหา แต่ถ้ามันถูกให้ทำหน้าที่แบบถูกฉุด กระชาก หรือหดตัว แบบไม่สมดุล เบ้ไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานานๆ มันก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของ “อาการปวด” ได้ อาการปวดศีรษะ ที่มีผลจากฟันภายในช่องปากก็เป็นผลพวงของความผิดปกติของการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อเหล่านี้ การปวดศีรษะลักษณะนี้บางครั้งก็เป็นด้านเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง หรือมีอะไรมารัดตรึงรอบๆ ศีรษะ อาการมีลักษณะ ปวดตื้อๆ พอสรุปได้ว่ามีต้นเหตุมาจากช่องปากและฟัน ได้แก่

      * ปวดรอบๆ ลูกตา
      * ปวดขากรรไกร กล้ามเนื้อขากรรไกร หลังจากตื่นนอน
      * นอนกัดฟัน
      * มีเสียงกิ๊กบริเวณหน้าหู เวลาอ้าปากหุบปาก
      * บริเวณศีรษะหน้าผากจะรู้สึกปวดๆ เวลาแตะ
ความสลับซับซ้อนของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของขากรรไกร กล้ามเนื้อที่พยุงศีรษะให้ตั้งตรงนั้นมันมักจะถูกมองข้ามไป ทุกครั้งที่เวลาเรา “กลืน” ฟันบนกับฟันล่างจะต้องมาชนมาแตะกัน วันหนึ่งๆ เรากลืนมากกว่า 2,000 ครั้ง ทั้งกลางวันกลางคืน ถ้าการสบฟันไม่ปกติ เช่น มีฟันเก ฟันล้ม ฟันถูกถอนไป มีการเคี้ยวข้างเดียวไม่สมดุล การทำงานของกล้ามเนื้อก็พลอยไม่สมดุลไปด้วย เพราะทำงานหนักไปข้างหนึ่ง โดยปกติคนเราทำงานยังมีพัก แต่กล้ามเนื้อเหล่านี้ไม่มีโอกาสพักทำงานตลอดเวลา ทำให้มันมีการสะสมของการดึงรั้งมากกว่าที่จะทนได้ ในที่สุดก็เป็นการเปลี่ยนมาเป็นการเจ็บปวดแทน

 แล้วมันส่งผลต่อการปวดศีรษะได้อย่างไรกัน?
      มีศัพท์ทางแพทย์ที่ใช้อยู่บ่อยๆ คือ “การปวดที่ส่งต่อ” หรือ “Referred pain” ดังนั้นเมื่อมีปัญหาในช่องปาก สาเหตุที่เกิดในช่องปาก อาจมีอาการปวดที่แก้ม ที่หัวต่อ หรือมีอาการปวดศีรษะได้
การปวดที่ส่งต่อ ก็คือ ต้นต่ออยู่อีกที่ แต่จะไปรู้สึกมีอาการปวดอีกที่
การปวดฟันหนึ่งซี่ ก็อาจทำให้เกิดปวดศีรษะได้
ความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ ดังที่กล่าวไว้ไปตอนต้นว่าบริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ ไหล่ มีกล้ามเนื้อหลายมัด มีความสัมพันธ์กับศีรษะของเรา ตั้งอยู่บนกระดูกคอ โดยมีกล้ามเนื้อขากรรไกร คอ ไหล่ และหลัง ยืดโยงอยู่ ศีรษะของเราหนักประมาณ 15 ปอนด์ก็ประมาณเท่ากับลูกโบว์ลิ่งนั้นแหละ ลองจินตนาการว่าศีรษะเราเหมือนลูกบอลวางบนปลายดินสอและยืดโยงด้วยแผ่นยางหลายแผ่น เมื่อกล้ามเนื้อมันเกร็ง หดตัว ลองนึกภาพแผ่นยางแผ่นหนึ่งมันทำงานแบบหดตัว แต่แผ่นยางบางแผ่นทำงานแบบยืดตัว ลูกบอลล์จะถูกดึงรั้งไปมา ในทำนองเดียวกันถ้ากล้ามเนื้อที่ขากรรไกร คอ ไหล่ มันหดตัว แต่กล้ามเนื้อส่วนอื่นมันทำงานหนัก เพื่อจะต้านให้ศีรษะทรงตัวอยู่ได้ เมื่อมีการสบฟันที่ผิดปกติ กล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อขากรรไกร คอ ศีรษะ ทำงานหนัก ทำให้มีอาการเจ็บ กล้ามเนื้อมีอาการเกร็ง อาการปวดก็เพิ่มมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าอาการปวดศีรษะนั้น มันเป็นเรื่องต่อเนื่องเกี่ยวพันกันหลายจุด การจะรักษาให้ได้ผลจึงต้องไม่มองข้ามประเด็นใดประเด็นหนึ่ง บางครั้งการวิเคราะห์ โรคเอียงไปทางการปวดศีรษะแบบไมเกรนโดยใช้ยาระงับปวดในการแก้ไขมากกว่าการแก้ไขการสบฟันผิดปกติ อาการปวดศีรษะ ก็จะคงมีต่อไป

การรักษาทางทันตกรรม
      ถ้าคุณมีอาการปวดศีรษะซึ่งเป็นผลจากการสบฟันผิดปกติควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อตรวจภายในช่องปาก ฟันและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง การรักษาจะเริ่มจากการแก้ไข การสัมผัสที่ผิดปกติ กล้ามเนื้อจะได้ทำงานในลักษณะปกติ ไม่ถูกดึงรั้งจนเกินขอบเขต โดยการใช้เครื่องมือทางทันตกรรม เพื่อให้กล้ามเนื้อพักและทำงานน้อยลง อาการปวดศีรษะจะปรับตัวดีขึ้น
      หากมีอาการปวดศีรษะมาเป็นเวลานานๆ และไม่เคยตรวจสุขภาพในช่องปากเลย ลองเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันดูการสบฟัน ตรวจทั้งข้อต่อขากรรไกร อาจจะพบสาเหตุของอาการปวดนั้นที่หลายคนมองข้ามไป


ที่มา : http://www.healthtoday.net link
++NEAR++
RUK-YOM
เด็กไอทีตัวเต็มวัย
*
พลังความคิด 55
กระทู้: 576
บันทึกการเข้า

link
สวัสดีคุณ  <you/>  วันนี้คุณทำความดีแล้วหรือยัง
หน้า: [1]  ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: