กรุณาปิด AdBlock!

Cancel your adBlock please.

ขยายหน้าเว็บRegister Login
 โฆษณา
หน้า: [1]  ลงล่าง
  พิมพ์  
topic

"จิตวิญญาณที่ขาดหาย" กับการลาตำแหน่ง "ซีอีโอ กูเกิล"  (อ่าน 1947 ครั้ง)

ไอที
« เมื่อ: 2, 02 2011, 04:41:04 PM »
ข่าวการลาป่วยของ "สตีฟ จ็อบส์" ยังไม่ทันจางจากกระแสข่าวโลกธุรกิจ หลังจากนั้นเพียงแค่ 3 วันหลัง ก็มีข่าวสะเทือนวงการธุรกิจโลกอีกครั้ง เมื่อ "เอริค ชมิดท์" ซีอีโอคนปัจจุบันกูเกิล ก้าวลงจากตำแหน่งสูงสุดขององค์กร และส่งไม้ต่อให้กับ "ลาร์รี เพจ" หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมารับช่วงต่อ
 

ลาร์รี เพจ

ชมิดท์ จะขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่ดูแลดีลการทำธุรกิจ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การซื้อขายกิจการต่างๆ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับภาครัฐ แทนการบริหารจัดการงานภายในที่เคยทำ
 
ข่าว นี้ สร้างความประหลาดใจกับผู้ที่อยู่ในแวดวงไอทีเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เอริค ชมิดท์ ได้สร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมต่างๆ ให้กับกูเกิลมากมาย ในระยะเวลา 9 ปี 6 เดือนที่คุมบังเหียนอยู่ ทั้งการแย่งตลาดเสิร์ชเอ็นจิน จนครองบัลลังก์เสิร์ชเอ็นจินอันดับหนึ่งของโลกยาวนานจนถึงปัจจุบัน
 
 นอก จากนี้ กูเกิลภายใต้การบริหารของ ชมิดท์ ยังได้ปฏิวัติธุรกิจโฆษณาออนไลน์ จากเดิมเป็นสื่อโฆษณาอันดับท้ายๆ ที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้ กลายมาเป็นสื่อที่แบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกทุ่มงบโฆษณาลงไปมากที่สุด แซงสื่อสิ่งพิมพ์ ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 รองจากสื่อทีวี
 
กำไรสุทธิที่ กูเกิลทำได้ในแต่ละปี มากกว่า กำไรรวมที่กลุ่มเอเยนซีโฆษณา “Big Four” ของวงการโฆษณาโลก ทำได้รวมกัน (กลุ่ม “Big Four” ประกอบด้วย กลุ่ม InterPublic, Omnicom, Publicis และ WPP ที่มีบริษัทเอเยนซีโฆษณารวมกันมากกว่าหนึ่งพันบริษัท)
 
และเมื่อนับ รวม จำนวนพนักงานทั้งหมดของ “Big Four” ที่มีอยู่ประมาณ 293,000 คนทั่วโลก และพนักงานกูเกิลทั่วโลกกว่า 24,400 คน จะพบว่า กูเกิลใช้พนักงานน้อยกว่าถึง 12 เท่า และยังให้ผลกำไรตอบแทนเป็นตัวเงินสูงกว่ากลุ่มบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ถึง 2.6 เท่า
 
นี่คือ ความมหัศจรรย์ของระบบโฆษณาออนไลน์ที่กูเกิลสร้างขึ้น
 
จากบริษัท Startup เล็กๆ กระทั่งกลายเป็นบริษัทติดอันดับ 1 ใน 50 ของบริษัทที่มีกำไรสูงสุดในโลกของปี 2010 ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในยุคการบริหารงานของ ชมิดท์ สิ่งที่เป็นคำถามในใจของหลายๆ คน  คือ เมื่อกูเกิลมีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม เหตุใด ชมิดท์ ถึงต้องอำลาจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดขององค์กร
 
ปัญหานี้ เป็นเรื่องของการบริหารจัดการภายในล้วนๆ ครับ
 

เอริค ชมิดท์

การเติบโตอย่างรวดเร็วของกูเกิล ทำให้องค์กรเริ่มที่จะ “ใหญ่เกินไป” ชมิดท์ก็ตระหนักจุดนี้
 
ข้อ เสียขององค์กรที่ใหญ่เกินไป มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลำดับขั้นตอนตัดสินใจต่างๆ จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น จะทำอะไรแต่ละครั้ง เรื่องต้องถูกอนุมัติจากผู้บริหารหลายระดับ ทำให้เกิดความล่าช้า ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการความเร็ว เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้
 
ความรวดเร็วในการตัดสินใจ (Decision-making Speed) จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
 
ผม เชื่อว่า ลาร์รี เพจ ซีอีโอคนใหม่ จะต้องมีการผ่าตัด เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารองค์กรให้กระชับขึ้น และมอบอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจบางเรื่องที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้
 
ข้อเสียที่สำคัญอีกข้อขององค์กรที่มีขนาดใหญ่เกินไป คือ การสูญเสีย “จิตวิญญาณ” และความมุ่งมั่นที่เคยมี เมื่อครั้งองค์กรยังแบเบาะ
 
พนักงาน ใน “บริษัทเกิดใหม่" (Start-up Company) จะมีวิธีคิดที่แตกต่างกับพนักงานในองค์กรใหญ่ๆ คือ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่น และความทะเยอทะยานที่จะเอาชนะ ต้องสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างความยิ่งใหญ่ และมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของธุรกิจ
 
"ลาร์รี เพจ" ต้องการเปลี่ยนกูเกิล ให้มีจิตวิญญาณแบบ “บริษัทเกิดใหม่” อีกครั้ง
 
เมื่อ มองไปยังธุรกิจที่กูเกิลให้ความสำคัญและเป็นทิศทางของบริษัท ทั้งธุรกิจโฆษณาออนไลน์บนเว็บ โฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต ธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ล้วนมีแต่เสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ยักษ์ใหญ่อยู่ในสนามแข่งขันทั้งนั้น
 
โฆษณาออนไลน์บน เว็บก็มี เฟซบุ๊ค ที่เพิ่งแย่งตำแหน่งแชมป์เว็บไซต์ที่คนเข้าเยี่ยมชมนานที่สุดในโลกไป และยังมีไมโครซอฟท์กับยาฮู คอยขี่จักรยานตามหลังมาห่างๆ โฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ แอ๊ปเปิ้ลก็ส่ง “iAd” เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากกูเกิลไปถึง 21% ในระยะเวลาแค่ปีเดียว
 
ธุรกิจ สมาร์ทโฟนละแทบเล็ต ที่ต้องเจอศึกหนักกับเจ้าตลาดอย่างแอ๊ปเปิ้ล ผู้กำเนิดไอโฟน และรีเสิร์ชอินโมชั่น (RIM) ผู้ผลิตแบล็คเบอร์รี ทั้งในเรื่องจำนวนยอดขายเครื่อง และจำนวนแอพ ธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ยังต้องมาเจอกับแอ๊ปเปิ้ลทีวี ที่มาพร้อมกับคอนเทนท์มหาศาลบนไอจูนส์สโตร์
 
เห็น แค่รายชื่อคู่แข่งในแต่ละธุรกิจ ทั้ง เฟซบุ๊ค ไมโครซอฟท์ แอ๊ปเปิ้ล ก็เริ่มร้อนๆ หนาวๆ แทนกูเกิล โดยเฉพาะการที่ต้องมาเจอกับแอ๊ปเปิ้ล ในช่วงท็อปฟอร์มสุดๆ
 
งานใหม่ของเอริค ชมิดท์ น่าจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งและลบจุดอ่อนให้กับกูเกิลมากพอสมควร
 
แต่ ที่ร้อนๆ หนาวๆ กว่า น่าจะเป็นฝั่งไมโครซอฟท์ เพราะขาดทั้ง “จิตวิญญาณของบริษัทเกิดใหม่” ด้วยอายุบริษัทที่ยาวนานกว่า 36 ปี ขนาดองค์กรก็ใหญ่โตอุ้ยอ้าย มีพนักงานกว่า 90,000 คน อีกทั้ง 4 ธุรกิจหลักที่กูเกิลโฟกัส ก็เป็นอนาคตของไมโครซอฟท์เช่นกัน แต่ก็ยังอยู่ในสถานะคู่แข่งนอกสายตาทั้งสิ้น
 
ไล่ๆ ดูแล้ว ทั้งแอ๊ปเปิ้ลและกูเกิล ก็เปลี่ยนแปลงซีอีโอแล้ว ส่วนเฟซบุ๊คก็มี “จิตวิญญาณของบริษัทเกิดใหม่ อย่างเต็มเปี่ยมอีกทั้งขนาดขององค์กรก็เหมาะสม
 
เหลือ แต่ไมโครซอฟท์ล่ะครับที่ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่แน่ว่าอนาคตอีกไม่นาน ผมอาจจะต้องกลับมาเขียนถึง “สตีฟ บัลเมอร์” อีกคน ก็เป็นได้

ข้อมูลจาก: กรุงเทพธุรกิจ link
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: Broadband Internet link Laptop link Software link Video Game link Thailand Hotels link
Uzumaki Naruto
ยามเฝ้าบอร์ด
เด็กไอทีคลับจอมเก๋า
*
พลังความคิด 16
กระทู้: 1,313
เว็บไซต์
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]  ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: