กรุณาปิด AdBlock!

Cancel your adBlock please.

ขยายหน้าเว็บRegister Login
 โฆษณา
หน้า: [1]  ลงล่าง
  พิมพ์  
topic

Extra Normal แอพเสริมการตลาดแบบไวรัส  (อ่าน 7885 ครั้ง)

ไอที
« เมื่อ: 5, 02 2011, 03:47:46 PM »
ภาพของตัวการ์ตูนหมีหน้าตาเซื่องๆ พูดถึงการวางแผนฆาตกรรมด้วยน้ำเสียงเรียบเฉย ดูเป็นเรื่องน่าขำในสายตาของนักท่องอินเทอร์เน็ต และนี่คือหนึ่งในผลงานของ เอ็กซ์ตรานอร์มอล (http://www.xtranormal.com/ link) ผู้ผลิตการ์ตูนแอนิเมชันออนไลน์ในสหรัฐ ที่ช่วยให้ผู้ใช้แปลงร่างเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ภายในพริบตา
 


เอ็กซ์ตรานอร์มอล ซึ่งมีสโลแกนว่า "หากคุณพิมพ์ได้ คุณก็สร้างหนังได้" เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สร้างสรรค์ผลงานบนเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดโปรแกรมลงในคอมพิวเตอร์
 
ขั้นแรก เลือกฉากและตัวการ์ตูน จากนั้นก็พิมพ์บทสนทนา และส่งออกเผยแพร่บนเว็บไซต์ โดยตัวการ์ตูนจะแสดงไปตามบทบาทและคำพูดที่กำหนด เสียงที่ออกมาจะเป็นโมโนโทน เนื่องจากเป็นเสียงสังเคราะห์
 


ตัวการ์ตูนของ เอ็กซ์ตรานอร์มอล มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่คนธรรมดา สัตว์ ซูเปอร์ฮีโร่ หุ่นยนต์ ตัวต่อเลโก้ รถแข่ง และนักการเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่างเช่น บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ หรือ ซาราห์ เพ-ลิน อดีตผู้ว่าการรัฐอะแลสกา
 
ภาพยนตร์ การ์ตูนที่ได้รับความนิยมมักกระตุ้นให้เกิดวีดิโอตอบโต้หรือล้อเลียนตามมา โดย ซิลวิโอ ดรูอิน หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี กล่าวว่า คนที่เข้ามาในเว็บไซต์เพื่อผลิตภาพยนตร์ ส่วนมากเป็นเพราะได้ดูผลงานของคนอื่นมาก่อน บริษัทไม่เคยลงทุนด้านการตลาดแม้แต่ดอลลาร์เดียว
 


คลิปวีดิโอชิ้นแรกของ เอ็กซ์ตรานอร์มอล ที่แพร่กระจายบนอินเทอร์เน็ต และสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัท ได้แก่ คลิปที่สร้างสรรค์โดย ไบรอัน มอพิน พนักงานร้านเบสต์บาย เป็นภาพตัวการ์ตูนหมี 2 ตัว พูดคุยเกี่ยวกับโทรศัพท์อัจฉริยะ ไอโฟน4 และ เอชทีซี อีโว ในสไตล์จิกกัด
 
คลิปนี้มีผู้ชมกว่า 11 ล้านครั้งบนเว็บไซต์ยูทูบ และสร้างปรากฏการณ์การผลิตคลิปล้อเลียนตามมาอีกนับไม่ถ้วน กลายเป็นเครื่องมือการตลาดแบบไวรัสไปอย่างไม่ทันตั้งตัว
 


การตลาด แบบไวรัส ก็คือ การทำตลาดที่ให้เนื้อหาเป้าหมาย กระจายตัวต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จากผู้รับชมกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง เหมือนกับไวรัสคอมพิวเตอร์นั่นเอง
 
แกรห์ม ชาร์ป หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เอ็กซ์ตรานอร์มอล กล่าวว่า เมื่อคลิปวีดิโอของ มอพิน โด่งดังขึ้นมา บริษัทใหญ่ๆ หลายรายก็หันมาสนใจ และคลิปทำนองเดียวกันได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในแวดวงโฆษณา จนกระทั่ง เกโค บริษัทประกันภัยรถยนต์ นำเอาแอพพลิเคชั่นแจกฟรีของ เอ็กซ์ตรานอร์มอล ไปใช้ผลิตภาพยนตร์โฆษณาขนาดสั้นหลายชิ้น
 


ความนิยมที่ได้รับถือเป็นเรื่องเหนือคาดสำหรับ เอ็กซ์ตรานอร์มอล ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2548 ที่มอนทรีออล แคนาดา โดย ริชาร์ด ซาลวินสกี นักเขียนบทและผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชัน เนื่องจากเป้าหมายในการผลิตแอพพลิเคชั่นนี้ขึ้นมา ก็เพื่อช่วยให้สตูดิโอภาพยนตร์มีเครื่องมือสร้างสตอรี่บอร์ดก่อนลงมือถ่ายทำ ซึ่งฮอลลีวูดก็ชอบไอเดียนี้ แต่เห็นว่าตัวการ์ตูนและอุปกรณ์ต่างๆ ธรรมดาไปหน่อย
 
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีความเห็นแตกต่างจากฮอลลีวู้ด โปรแกรมของ เอ็กซ์ตรานอร์มอล กลายเป็นที่โปรดปรานของผู้ที่ชอบของฟรี และสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง
 
ดา ร์รอล ลอว์สัน หนึ่งในผู้ใช้บริการ เจ้าของวีดิโอการถกเถียงเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างคนอเมริกันผิวสี ให้ความเห็นว่า การทำภาพยนตร์ออกมาในแบบการ์ตูน ช่วยให้ประเด็นตึงเครียดผ่อนคลายลงได้ และเสียงสังเคราะห์ของ เอ็กซ์ตรานอร์มอล ก็ช่วยสร้างอารมณ์ขันได้ดี แม้ว่าบางทีอาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจให้ขำ
 
ทาง ด้าน เลสลี อัลลิสัน เลือกสร้างวีดิโอแทนการเขียนบล็อก เพื่อแสดงความไม่พอใจในวิชามานุษยวิทยาที่เธอเรียนอยู่ เนื่องจากเห็นว่าการเขียนบล็อก ก็เหมือนการบ่นให้คนอื่นฟัง แต่การสร้างวีดิโอทำให้เรื่องที่เธอไม่พอใจกลายเป็นเรื่องน่าขัน และคนที่ได้ดูวีดิโอของเธอก็จะได้รับสารในเชิงบวก
 


กระนั้นก็ดี การเปลี่ยนแปลงทีมบริหารเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ ซาลวินสกี ต้องลาออกไป และ เอ็กซ์ตรานอร์มอล ก็เคลื่อนไปในทิศทางใหม่ บริษัทประกาศจัดเก็บค่าบริการเมื่อเดือนธ.ค. เนื่องจากแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว เมื่อยอดผู้ใช้พุ่งแตะระดับ 2 ล้านราย เพิ่มขึ้นจาก 500,000 รายเมื่อเดือนมิ.ย. และมีการผลิตวีดิโอออกมาแล้วประมาณ 9.3 ล้านชิ้น บางชิ้นมียอดเข้าชมนับล้าน
 
เดิม เอ็กซ์ตรานอร์มอล จัดเก็บค่าบริการเฉพาะตัวละครพิเศษ หรือฉากพิเศษ แต่ปัจจุบัน ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าตัวละครและฉากทั้งหมด รวมทั้งการนำวีดิโอออกเผยแพร่บนเว็บไซต์
 
ผู้ใช้ต้องซื้อแต้มขั้น ต่ำ 1,200 แต้ม ในราคา 10 ดอลลาร์ สมาชิกใหม่จะได้แต้มฟรี 300 แต้ม และอาจได้คะแนนเพิ่มหากชักชวนเพื่อนมาสมัครด้วย ตัวละครและฉากหลังมีราคาระหว่าง 37-150 แต้ม ส่วนค่าเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 100 แต้ม
 
แม้ว่าขณะนี้ เอ็กซ์ตรานอร์มอล ยังไม่มีกำไรจากการดำเนินการ แต่ ชาร์ป คาดว่าบริษัทจะคืนทุนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ด้วยการจัดเก็บค่าบริการดังกล่าว และการสร้างแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์อัจฉริยะ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง เฟซบุ๊ค
 
แอพพลิเคชั่นใหม่ จะช่วยให้ผู้ใช้สร้างและส่งวีดิโอสะดวกสบายขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ถ่ายรูปประกอบฉากได้ด้วย
 
นอกจากนี้ เอ็กซ์ตรานอร์มอล ยังซุ่มพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับ เฟซบุ๊ค ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถส่งคำอวยพรวันเกิด หรือแสดงความเห็น ในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชัน ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่รายนี้

ข้อมูลจาก: กรุงเทพธุรกิจ link
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: Broadband Internet link Laptop link Software link Video Game link Thailand Hotels link
Uzumaki Naruto
ยามเฝ้าบอร์ด
เด็กไอทีคลับจอมเก๋า
*
พลังความคิด 16
กระทู้: 1,313
เว็บไซต์
บันทึกการเข้า

ไอที
« ตอบ #1 เมื่อ: 6, 12 2012, 04:51:09 PM »
  น่าสนใจมากครับ
jokerkillman101
เด็กไอทีคลับหน้าใหม่
*
พลังความคิด 0
กระทู้: 1
เว็บไซต์
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]  ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: